Category Archives: ฟาร์มมหาวิทยาลัย

ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในด้าน กสิกรรม และ ปศุสัตว์ ก็เป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพ

อาหารปลอดภัย…ด้วยการ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งในด้าน กสิกรรม และ ปศุสัตว์ ก็เป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพ อีกทั้งยังต้องเป็นที่ยอมรับกันใน…กลุ่มเกษตรกรรุ่นเดิม และ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเริ่มหันเหชีวิตลูกจ้างจากเมืองหลวงมาสนใจอาชีพเกษตรกรรม มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและภูมิอากาศในโลก (climate change) ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีในการดำเนินชีวิตของผู้คน ทั้งยังส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการเกษตรทั่วโลก

การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก สหประชาชาติรายงานว่า จำนวนประชากรโลกคาดว่าจะเกิน7,000 พันล้านคนในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2011 และรายงานการคาดการณ์สำหรับช่วงกลางศตวรรษ ปี 2050 ประชากรของโลกคาดว่าจะมากเกิน 9,300 พันล้านคน

จีน ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กำลังพลิกโฉมด้านการพัฒนาภาคเกษตร โดยผ่านนโยบาย“เกษตรสมัยใหม่” (new agriculture) ซึ่งเป็นการทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและ คุณภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประเทศจีนกำลังเริ่มนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 12(พ.ศ.2554-2558) ซึ่งประกาศไว้ว่า จะเปลี่ยนโมเดลจากโรงงานของโลกมาเป็นตลาดของโลก จากผู้ผลิตมาทำตลาดเอง บูรณาการทุกอย่างหมด

“หมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Xinnongchun Project”เป็น 1 ในโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้แนวนโยบายเกษตรสมัยใหม่ ดำเนินการในลักษณะ “สี่ประสาน” กล่าวคือเป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ บริษัทเอกชน ธนาคาร และเกษตรกร ในส่วนนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับโอกาสจากรัฐบาลจีนให้เข้าไปดำเนินโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยหลายโครงการ

เริ่มจาก พศ. 2552 ซี.พี. ร่วมมือรัฐบาลจีน ทำโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่“ผิงกู่” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงปักกิ่ง โดยสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ทันสมัยที่สุดสามารถเลี้ยงไก่ได้ 3 ล้านตัวมีมูลค่าการลงทุน 582-615 ล้านหยวน โครงการนี้เกษตรกรรวมตัวกันในรูปสหกรณ์ ที่มีรัฐบาลจีนส่งเสริมและสนับสนุนทุนประมาณ 15% เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนทุน 15% ส่วนที่เหลืออีก 70%ธนาคารเป็นผู้ให้สินเชื่อ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้เช่าพื้นที่บริหารจัดการโครงการเกษตรดังกล่าวซึ่งเป็นการรับความเสี่ยงแทนเกษตรกร สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ 3 ล้านตัว เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการแบบครบวงจร มีไก่พันธุ์ ไก่รุ่น อาหารสัตว์ สามารถนำเอามูลไก่ไปทำไบโอแก๊ส มีโรงงานแปรรูปไข่

นอกจากนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลจีนเพื่อดำเนิน โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยในจีนอีกหลายโครงการ อาทิ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย ที่มณฑล จี๋ หลินซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นมณฑลเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีพืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ โดยมีสินค้าเกษตรและเนื้อสัตว์มากเป็นอันดับ 1 ของจีน ทั้งนี้โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมแผนใหม่มีมูลค่าการลงทุน 7,900 ล้านหยวน หรือ 39,500 ล้านบาท ในโครงการนี้จะมีการเลี้ยงไก่ไข่ 3 ล้านตัว/ปี สุกร 1 ล้านตัว/ปี และไก่เนื้อ 100 ล้านตัว/ปี

โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยที่เมืองจั้นเจียง มณฑลกวางตุ้ง เป็นโครงการที่เลี้ยงสุกร 1 ล้านตัว ไก่ 100 ล้านตัว รวมถึงสัตว์น้ำ มีมูลค่าการลงทุน 8,000 ล้านหยวน เมืองจั้นเจียงว่าเป็นเมืองสีเขียวที่มีความพร้อมในการพัฒนาด้านเกษตร อุตสาหกรรม อีกทั้งรัฐบาลจั้นเจียงก็มีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจอย่างเต็มที่

นอกจากนี้จีนยังมีการพัฒนาภาคเกษตรในรูปแบบโครงการที่เรียกว่า “mega farms และmetropolitan agriculture” อีกด้วย ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากรัฐบาลจีนให้ดำเนินโครงการ CIXI ที่มณฑลเจ้อเจียง โครงการนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลจีน พัฒนาพื้นที่ 8,000 ไร่ในเมืองฉือซี(CIXI) โดยมีรูปแบบการพัฒนาแบบ intensive&mixed farming เป็นเกษตรผสมผสานแบบทันสมัยครบวงจรตั้งอยู่บนที่ดินที่เกิดจากการล้อมทะเลใกล้เขตเมือง ซึ่งรัฐบาลจีนวางแผนให้โครงการนี้เป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนพลเมือง 100 ล้านคน เพราะเป็นโครงการที่ตั้งอยู่ในรัศมีที่รายล้อมไปด้วยเมืองขนาดใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ หังโจวและหนิงโป ในเบื้องต้นนี้ได้ประมาณการมูลค่าการลงทุน 4,000 – 5,000 ล้านหยวน ภายในโครงการฉือซีแห่งนี้จะพัฒนาเกษตรครอบคลุมครบทั้งด้านพืชผักและปศุสัตว์

ธุรกิจแรกที่เครือเจริญโภคภัณฑ์จะดำเนินการบนพื้นที่นี้คือธุรกิจปลูกพืชผักปลอดภัยในเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยจากฮอลล์แลนด์ ปลูกพืชผักบนเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนที่สูง แต่จะให้ผลผลิตสูงและคุณภาพสูง พืชที่ปลูกได้แก่ ผักประเภทผักสลัด มะเขือเทศ พืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบยาและเครื่องสำอาง เป็นต้น การปลูกพืชผักในเรือนกระจกจะแก้ปัญหาความแตกต่างในเรื่องของฤดูกาลได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถผลิตพืชผักได้ทุกฤดูกาล ซึ่งเป็นโอกาสที่ได้เปรียบในการทำธุรกิจพืชผัก

เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบจัดการฟาร์มเลี้ยงโคนมด้วย “RFID”

ระบบจัดการฟาร์มเลี้ยงโคนมด้วย “RFID” เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการฟาร์มเลี้ยงโคนม โดยระบบสามารถบันทึกข้อมูลของโคแต่ละตัว เช่นบันทึกประวัติสัตว์ บันทึกปริมาณการให้นมแต่ละตัวรายวัน บันทึกการผสมเทียม บันทึกการรักษาโรค และ สามารถแสดงข้อมูลของโคแต่ละตัว เช่น ข้อมูลประวัติสัตว์ ข้อมูลประวัติการชั่งน้ำหนัก ข้อมูลการคลอด ข้อมูลการผสมเทียม ข้อมูลปริมาณการให้นม เป็นต้น รวมถึง สามารถแสดงงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการทำฟาร์มเลี้ยงโคนม สามารถตรวจสอบพันธุกรรมของโคแต่ละตัว อีกทั้งระบบสามารทำการแจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้มีโคตัวใดบ้างที่ถึงเวลาในการทำกิจกรรมทางด้านสุขภาพต่างๆ เช่น การเตือนโคที่ใกล้คลอด การเตือนโคที่ต้องผสมเทียม การเตือนโคที่ต้องชั่งน้ำหนัก การเตือนโคที่ต้องตรวจโรค การเตือนโคที่ฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้เกษตรกรทราบได้ว่าขณะนี้มีโคตัวใดที่ถึงเวลาในการทำกิจกรมทางด้านสุขภาพบ้าง จะทำให้โคแต่ละตัวได้ทำกิจกรรมทันเวลา ส่งผลโคมีสุขภาพดี และสามารถให้นมที่มีคุณภาพและปริมาณมาก ทำให้ผู้ประกอบการเกิดผลกำไรมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากในปัจจุบันฟาร์มโคนมมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องมีการจ้างแรงงาน และมีชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ขนาดของฝูงขนาดใหญ่ส่งผลให้เกษตรกรมีความยากลำบากในการระบุตัวตนวัวแต่ละตัว รวมถึงการติดตามด้านสุขภาพ และการบันทึกปริมาณการให้นม มีเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานภายในฟาร์ม ด้วยการใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อช่วยการบริหารจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กับความท้าทายที่เกิดขึ้นจึงได้พัฒนาโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อช่วยให้ฟาร์มสามารถลดปริมาณของแรงงาน และให้มั่นใจว่าระบบจะมีการตรวจสอบพฤติกรรมของวัวเมื่อมีการเคลื่อนย้ายไปในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือการแจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างไป จากการให้ข้อมูลและการแจ้งเตือนนี้ ทำให้เกษตรกรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะต่าง ๆ และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือมีการเตือนภัยล่วงหน้าได้อีกด้วย

ด้วยความสามารถของซอฟต์แวร์เกษตรกรจะสามารถดูสถานที่ตั้งของวัวแต่ละตัวและข้อมูลพฤติกรรม ณ เวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาหาวัวเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นได้อย่างรวดเร็ว และซอฟต์แวร์ยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลของวัวแต่ละตัว รวมถึงประวัติสุขภาพและการเคลื่อนไหวซึ่งอาจบ่งชี้ถึงสุขภาพในปัจจุบันของวัวตัวนั้น ๆ ได้อย่างละเอียด

เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ Smart Farm การทำเกษตรสมัยใหม่

ในอดีตประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรที่มีความมั่งคั่งในเรื่องของทรัพยากรทางด้านอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์จนได้รับคำกล่าวยกย่องถึงความอุดมสมบูรณ์ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ มีความเหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม พืชพรรณธัญญาหารสามารถหาได้จากธรรมชาติรอบตัว

แนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรจึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไอที สื่อสาร เซ็นเซอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งนาโนเทคโนโลยี จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร เปลี่ยนไร่นาและฟาร์มเกษตรทั้งหลาย ให้กลายมาเป็นผืนดินที่สุดแสนไฮเทค และทำให้ฟาร์มธรรมดาๆ กลายมาเป็นฟาร์มอัจฉริยะ ที่มีความสามารถในการรับรู้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยเซ็นเซอร์ และทำงานอย่างกึ่งอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต

Smart Farm จะทำให้เกษตรกรรมกลายมาเป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดในโลก ที่ซึ่งเกษตรกรรม เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม จะอาศัยและอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและพอเพียง

ทำความรู้จักกับฟาร์มอัจฉริยะ
เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้น ตั้งอยู่บนแนวคิดของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเกษตรกรสามารถจะปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ย่อยๆ รวมไปถึงการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น การปลูกข้าว ในพื้นที่นาหลายๆ แห่งจะสังเกตได้ว่า ผลผลิตของข้าวที่ออกมาในแต่ละต้น ให้รวงข้าวที่ไม่เท่ากัน บางบริเวณก็ให้รวงข้าวเยอะ บางบริเวณให้รวงข้าวน้อย

จะเห็นได้ว่าฟาร์มอัจฉริยะมีความแตกต่างกับฟาร์มธรรมดาตรงที่การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืช ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร การให้ปุ๋ยที่ไม่มากเกินไปช่วยทำให้ดินไม่เสีย ไม่เกิดการล้นของแร่ธาตุที่อาจทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมลงได้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นเกษตรเคมี หรือ เกษตรอินทรีย์ ที่การให้ปุ๋ยก็จะให้เท่าๆ กันทั่วทั้งไร่ ไม่ต่างจากพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกด้วยการให้กินข้าวเท่าๆ กัน ทั้งๆ ที่ลูกแต่ละคนนั้นหิวไม่เท่ากัน

ความสำคัญในการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มและกระบวนการขั้นตอนการดูแลต่าง ๆ

การเลี้ยงสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมจะดีกว่าสำหรับทุกคน สัตว์จะมีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี การทำฟาร์มโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์นั้น สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม และเกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ด้วย ดังนั้น เราจึงทำงานร่วมกับรัฐบาล เกษตรกร และผู้บริโภคทั่วโลกเพื่อรณรงค์เรื่องการดูแลสัตว์ในฟาร์ม และเป็นพันธมิตรกับกลุ่มธุรกิจเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการทำการเกษตรกรรมนั้นสามารถที่จะทำแบบยั่งยืนและให้ผลกำไรได้ด้วยในขณะเดียวกันระบบฟาร์มที่มีมนุษยธรรมจะดีต่อสัตว์ ผู้คน และสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มอย่างมีมนุษยธรรมจะใช้อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำในการบริโภค น้อยกว่าการทำการฟาร์มแบบเข้มข้น อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายและมลพิษด้วยระบบจัดการฟาร์มที่มีมนุษยธรรม สามารถสร้างงาน เพิ่มผลกำไร และเก็บเกี่ยวพืชผลไว้เป็นเสบียงอาหารที่ดีต่อสุขภาพในระดับท้องถิ่นการทำฟาร์มพืชและฟาร์มปศุสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมนั้น สามารถลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่นการนำกลับมาใช้ใหม่และการปรับปรุงสารอาหารในดินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงเมื่อสัตว์มีสุขภาพและมีสวัสดิภาพที่ดี

ที่องค์การคุ้มครองสัตว์โลกให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทและเกษตรกรที่จะนำวิธีการทำฟาร์มแบบเปิด เพราะการเลี้ยงสัตว์โดยกักบริเวณให้สัตว์อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดนั้น เป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและความเครียด ขณะที่การทำฟาร์มสัตว์แบบเปิดนั้น ทำให้สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกเขาได้ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ วิธีการนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดในวิธีการจัดการสัตว์ได้ เช่น การตัด การเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว และกำลังดำเนินอยู่ต่อไป ในปี 2012 การใช้กรงที่กักขังแม่ไก่ไว้ในพื้นที่ที่เล็กกว่ากระดาษขนาด A4 ได้ถูกยกเลิกและกำจัดออกไปโดยหลายบริษัทซึ่งได้เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงไก่จากเดิมไปเป็นการเลี้ยงที่โรงนา หรือในพื้นที่โล่ง ส่วนการเลี้ยงแม่สุกรที่ตั้งท้องไว้ในรางที่แคบ ทำให้แม่สุกรไม่สามารถหันตัวไปรอบ ๆ ได้ เป็นสิ่งต้องห้ามและถูกยกเลิกโดยสหภาพยุโรป ในปี 2013 ดังนั้น ถึงเวลาที่จะผลักดันร่วมกัน โดยเรียกร้องให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มทั่วโลกรับรองการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มให้มีชีวิตและดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์ฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนงานด้านการเรียนการสอนของอาจาร์ย และนักศึกษา

การที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อที่จะมุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและเหมาะสม ให้นักศึกษาใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกทักษะและใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนปฏิบัติการของนักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช(เน้นไม้ผล) เทคโนโลยีการผลิตสัตว์(โคนม สุกร แพะ และสัตว์ปีก) เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ(สัตว์น้ำจืด) ให้การสนับสนุนพืช สัตว์ เชื้อพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ และชีวมวลแก่สาขาวิชาอื่นๆ ที่ต้องการใช้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากฟาร์มวิทยาลัย ให้การสนับสนุนด้านสถานที่ในการดำเนินการวิจัยของอาจารย์ บัณฑิตศึกษา และปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษาปริญญาตรี

การดำเนินกิจกรรมฟาร์มครบตามความต้องการขั้นต้นของหลักสูตรที่ต้องการใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดการฟาร์มให้มีกิจกรรมอย่างน้อย 3 กิจกรรมที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย
1. ผักปลอดสารพิษ
2. ไข่ไก่สดคัดเกรด(เป็นผลผลิตจากไก่ไข่ที่เลี้ยงภายใต้ระบบ Evaporative Cooling System)
3. สุกรพันธุ์แท้ และลูกผสมสองสาย(ต้องสั่งจอง)
4. โคนมเพศผู้(ต้องสั่งจอง)
5. โคสาวตั้งท้อง 3 เดือน(ต้องสั่งจอง)
6. ผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยบรรจุขวด(ไม่ใส่สารสังเคราะห์ สารกันบูดและไม่เจือสี)
7. ผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอร์ไรส์รสจืด นมปรุงแต่งรสหวาน ช็อกโกแลต สตรอเบอร์รี่ กาแฟ ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสส้มและรสผลไม้รวม ขนาดบรรจุ 180 มิลลิลิตร

การที่ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ มีระบบการทำงานและระบบข้อมูลที่ถูกต้อง มีการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพเหมาะสมกับงานสามารถตอบสนองพันธกิจให้กับมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด การที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นสามารถทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แปรรูปผลิตภัณฑ์ และบริการวิชาการ และเป็นการการดำรงไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กร และชุมชน  เป็นการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการเลี้ยงสัตว์สู่ชุมชน ให้บริการด้านสุขภาพสัตว์แก่เกษตรกรในชุมชนใกล้เคียง เพราะฉะนั้นการที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นทำให้มีผลดีต่อนักศึกษาเป็นอย่างมาก